ในระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุนั้น สายนำสัญญาณ (transmission line) ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า สายอากาศเลย การเลือกใช้สายนำสัญญาณให้เหมาะสมกับงาน ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณได้มาก สานนำสัญญาณสามารถส่งผ่านกำลังของคลื่นวิทยุ จากเครื่องส่งไปยังสายอากาศและนำสัญญาณที่รับได้จากสายอากาศ กลับมาที่เครื่องรับวิทยุ ดังนั้นสายอากาศจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเครื่องรับ - ส่งวิทยุ กับสายอากาศสายนำสัญญาณสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.บาลานซ์ไลน์(Balance line) คือ สานนำสัญญาณที่มีตัวนำ 2 เส้น ที่มีลักษณะเหมือนกัน วางขนานกัน โดยมีตัวกลางหรือ ไดอิเล็กทริก กั้นกลาง อาจจะเป็นอากาศก็ได้ เช่นสายแบบ โอเพ่นไวร์ (Open wire) ซึ่งจะมีฉนวนต่อขั้นเป็นระยะเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และคงลักษณะของการขนานไว้ อีกแบบ คือ สายริบบอน หรือ ทวินลีด ซึ่งมีอิมพีเดนซ์ 300 โอมห์ ที่เรานำมาใช้ต่อสายอากาศโทรทัศน์ ในสมัยก่อน เปลือกหุ้มของสายอากาศแบบนี้ จะเป็นไดอิเล็กทริกไปในตัวด้วย 2.อันบาลานซ์ไลน์ (Unbalance line)คือ สายนำสัญญาณที่ตัวนำสองเส้นมีลักษณะต่างกัน หรือที่รู้จักกันดีในนาม สายโคแอกเชียล (coaxial cale) นั่นเอง สายแบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน สายแบบบาลานซ์ไลน์ ด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า เช่น ป้องกันคลื่นวิทยุอื่นๆแทรกเข้ามาได้ดีกว่า ติดตั้งใกล้ๆ โลหะได้โดยไม่มีผลการสูญเสียคลื่นออกจากสาย ค่าความเร็วของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณ(Velocity Factor) การเดินทางของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณนั้น เดินทางได้ช้ากว่าในบรรยากาศและช้ากว่าความเร็วแสงในบรรยากาศ ซึ่งค่าความเร็วของคลื่นวิทยุ ในสายนำสัญญาณมีค่าสัมพันธ์กับค่าคงที่ของวัสดุที่นำมาทำเป็นไดอิเล็กทริก ของสาย (dielectric constant) ค่าความเร็วนี้ได้มาจากอัตราส่วนของความเร็วคลื่นในสายต่อความเร็วคลื่นในบรรยากาศ ซึ่งบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ ของควมเร็วแสง โดยทั่วไปแล้วค่าความเร้วของคลื่นในสายเราจะเรียกว่า ตัวคูณความเร็วของสาย เช่น สายนำสัญญาณเบอร์ RG - 58A/U มีค่าตัวคูณความเร็ว 0.66 ซึ่งรายละเอียดของสายนำสัญญาณเบอร์ต่างๆ แสดงอยู่ในตารางที่ 1 ในตอนแรกนี้เราเรียนรู้พื้นฐานของสายนำสัญญาณ และชนิดของสายนำสัญญาณมาพอสมควร ตอนต่อไปจะเป็นการนำสายนำสัญญาณมาประยุกต์ใช้งาน การตัดสายนำสัญญาณให้ลงแลมด้า ตามความถี่ที่ใช้งาน และการตัดสายนำสัญญาณเพื่อทำเฟสชิ่งไลน์ ตารางที่ 1 ตารางคุณสมบัติสายโคแอกเชียลที่นิยมใช้งาน