Login 
Password 
 
 

เมนูเว็บไซต์

 
 
Custom Search
 
สาระน่ารู้ สูตรสร้างสายอากาศชนิดต่างๆ สายอากาศย่านสมัครเล่น 144-146 MHz สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
ข้อมูลและสาระน่ารู้อัพเดทล่าสุด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 หัวข้อ : สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
   Post Date:  2011-07-06 07:10:43 เปิดอ่านทั้งหมด 18735 ครั้ง
 
   
 
สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
   
 
สายอากาศไดโพล
   
 

สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้าเป็นสายอากาศที่มีโครงสร้างเดียวกันสายอากาศไดโพล 1/2 แลมด้า โดยเราได้ทำการเพิ่ิมส่วนวิปให้ยาวขึ้นเพื่อทำให้ได้อัตราขยายสัญญาณเพิ่มขึ้่นเป็น 3 dbd
สำหรับสายอากาศต้นนี้ ผมจะเน้นรูปแบบที่ทำง่ายๆครับ ( สำหรับมือใหม่ ) และใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย มาทำ แต่ถ้าต้องการทำให้สวยงามและแข็งแรงกว่านี้ก็ให้ลองดัดแปลงทำดูครับ ก่อนอื่นลองมาดูโครงสร้างทางทฤษฏีของสายอากาศต้นนี้ก่อนครับ

 
dipole  antenna
 

จากรูปภาพ ( ก ) เป็นสายอากาศไดโพลธรรมดาที่มีความยาว ½ แลมด้า และมีอัตราขยายเป็น 0 dBd เมื่อเรายึดความยาวแต่ละซีกให้ความยาวรวมกันเป็น 1 แลมด้า ดังรูป ( ข ) จะเหมือนกับเอาสายอากาศ ½ แลมด้า ที่ป้อนสายเข้าตรงปลาย 2 ตัวมาวางใกล้กันและอยู่ในแนวดิ่งเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า คอลลิเนียร์ ทำให้มีอัตรขยายเพิ่มขึ้นเป็นประมาณเกือบ 2 dBd ซึ่งสายอากาศ ½ แลมด้าที่ป้อนสายเข้าตรงปลายแต่ละตัวจะมีชื่อเรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า Zepp ดังนั้นในรูป ( ข ) จึงเรียกได้อีกแบบหนึ่งว่าเป็นแบบ double Zepp

เมื่อเราทดลองยืดสายอากาศในรูป ( ข ) ออกไปอีก เพื่อให้ส่วนที่เป็น ½ แลมด้า อยู่ห่างกันมากขึ้นก็พบว่าอัตราขยายจะเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อแต่ละส่วนถูกยืดเป็น 0.64 แลมด้า ( หรือประมาณ 5/8 แลมด้า นั้นเอง ) ดังในรูป ( ค ) ซึ่งจะมีอัตราขยายเป็น 3 dBd แต่ถ้ายืดออกไปมากกว่านี้อัตราขยายจะลดลง ดังนั้นรูป ( ค ) จึงได้ชื่อว่าเป็นสายอากาศแบบ extended double Zepp

   
   
 

โครงสร้างสายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า

โครงสร้างสายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า

   
 

วิธีการแมตช์ไดโพล

รูปภาพการแมตช์สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า

   
 
วิธีการทำ
 
นำท่อมาเจาะรูปให้ได้ขนาดตามแบบและประกอบวิปและชุดแมตช์เหมือนดังรูปครับ ( ง่ายๆ )
   
 
วิธีการแมตช์
 

ให้ทำการปรับระยะลูกเต๋าเข้าออกให้ได้ค่า SwR ต่ำสุด ( จากการทดลองทำจะอยู่ที่ระยะประมาณ 10 ซม.)
จะได้ค่า SWR 1:1.3

ถ้าท่านใดไม่มีเครื่องวัด SWR ก็ให้ใช้ระยะนี้ได้เลยครับ( 10 ซม. ) แล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าไป กดคีย์ออกอากาศได้เลย รับรองใช้ได้แน่ ( เกนขยายใกล้เคียงไดโพล 2 สแต็กครับ )

   
 
หมายเหตุ
 

สายนำสัญญาณที่นำมาต่อให้เราทำการวัดความยาวทั้งหมดแล้วให้เอา 34 ซม. หารครับ เหลือเศษให้ตัดทิ้งครับ

เช่น มีสายยาว 15.5 เมตร

= 15.5 x 100 =1550 ซม.

= 1550/34 = 45.5 ( ให้เราเอาเฉพาะจำนวนเต็มครับ คือ 45 )

แล้วเอา 45 x 34 = 1530 ซม.( 15.30เมตร )

   
   
   
 

 

   
   
 
Tag : สายอากาศไดโพล5/8แลมด้า,สายอากาศย่านสมัครเล่น
 
หน้า   1 
ความเห็น : 3   สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
admin
admin
ประมาณ 1 ซม.ครับ
Post Date: 10/5/17 - 7:32:pm IP :
ความเห็น : 2   สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
สมชัย
บริเวณจุดยึด โพลบนกับล่าง มีระยะห่างกันเท่าไหร่เหรอครับ (ขออภัยหากใช้ศัพย์ผิดครับ)
Post Date: 10/5/17 - 6:00:am IP :
ความเห็น : 1   สายอากาศไดโพล 1-1/4 แลมด้า เกนขยาย 3dbd ย่านความถี่ 144-146 Mhz
admin
admin
เป็นสายอากาศที่ทำง่าย รับส่งได้ดี เกนขยายใช้ได้ ต้องลองทำดู..
Post Date: 24/6/13 - 8:31:am IP :
หน้า   1 
แสดงความคิดเห็น
   ชื่อ :   อีเมล์
รหัสความปลอดภัย >>
 ลูก
กรอกรหัสความปลอดภัย
 
 
 
 
User Online 
 0
สงวนลิขสิทธิ์ © 2556  ร้อยแปดแฮมดอทคอม 
 ข้อมูลท่องเที่ยวลงโฆษณาฟรี !! | สินค้าโอทอป รายชื่อร้านค้า |รับทำเว็บไซต์|รับทำป้ายหินแกรนิต|ข้อมูลธุรกิจ|โฆษณาโรงแรมที่พัก|ข้อมูลดีดี 
สาระน่ารู้ |สแตนเลส | ออกแบบและพัฒนาโดย e20lfw สนใจลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ โทร. 081 8690945  เมล์ : usa.tss@gmail.com