สายอากาศยากิ 13e cb245 mhz Gain 14.6 dBi
สายอากาศยากิเป็นสายอากาศประเภททิศทาง โดยจะมีความแรงสัญญาณด้านหน้ามากกว่าด้านหลังและด้านข้าง ซึ่งจะมีสัญญาณเบามากๆ ส่วนการรับสัญญาณก็เช่นกัน จะรับสัญญาณด้านหน้าได้ดีกว่าด้านหลังและด้านข้างซึ่งเรามักจะเรียกว่าสัญญาณด้านหลังและด้านข้างบอดเพราะรับไม่ได้หรือรับสัญญาณไม่ดีนั้นเอง
ส่วนอัตราการขยายกำลังของสายอากาศยากิมักจะขึ้นอยู่กับความยาวของบูมและจำนวนอิลีเมนต์ ( จำนวน e ) ถ้ามีบูมยาวและอีลิเมนต์มากๆ ก็จะทำให้มีอัตราการขยายกำลังด้านหน้ามาก เช่นสายอากาศยากิ13อีต้นนี้มีอัตราการขยายกำลังด้านหน้าถึง 14.16 dBi หรือ มีกำลังส่งเพิ่มขึ้น26.06 เท่าของกำลังที่ส่งมา
ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดในการทำสายอากาศยากิ 13 อีต้นนี้ผมของอนุญาติกล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของสายอากาศต้นนี้ก่อนนะครับเพื่อจะใช้ในการตัดสินใจว่าจะทำดีหรือไม่ดี
ข้อดีของสายอากาศยากิ 13 อีต้นนี้
อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่าถ้าสายอากาศยากิถ้ามีบูมยาวและอิลิเมนต์มากๆ ก็จะยิ่งมีอัตราการขยายกำลังสูง จึงทำให้เราสามารถติดต่อกับคู่สถานีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้พอมีอัตราการขยายกำลังด้านหน้าสูงก็จะทำให้สัญญาณด้านหลังและด้านข้างบอด( รับสัญญาณไม่ได้หรือถ้าได้ก็จะไม่แรง) จึงทำให้เราสามารถหลบสัญญาณที่เราไม่ต้องการที่จะติดต่อได้หรือที่เราพูดว่าสัญญาณเฟสนั้นเองผมจึงของสรุปเป็นข้อดีดังนี้
1. มีอัตราการขยายสัญญาณสูงถึง 14.16 dbi หรือประมาณ 11.6 dBd เกือบเท่าโฟลเด็ดไดโพล 16 ห่วง
2.สัญญาณด้านหลังและด้านข้างบอด จึงทำให้หมุนหนีสัญญาณเฟสได้ดี
3.ปรับค่า SWR ง่าย
4. สัญญาณมีความสมดุลทั้งซีกบวกและลบเพราะเป็นการแมตช์แบบ T-Match
5. ความยาวของบูมไม่มากและน้ำหนักเบา
6. ราคาถูกเพราะใช้วัสดุน้อยชิ้น
7. ติดตั้งง่ายเพราะน้ำหนักเบา
ส่วนข้อเสียของสายอากาศยากิต้นนี้ผมขอสรุปดังนี้
อย่างที่ผมกล่าวมาแล้วว่าสายอากาศยากิต้นนี้มีอัตราการขยายกำลังด้านหน้าสูงจึงทำให้เวลาใช้งานสัญญาณด้านหลังและด้านข้างจะบอด( รับและส่งสัญญาณไม่ได้ดี ) จึงจะต้องคอยหมุนแผงสายอากาศหาคู่สถานีที่เราต้องการจะสนทนาด้วย และอีกอย่างการทำสายอากาศต้นนี้เป็นสายอากาศยากิแบบเจาะทะลุบูม ซึ่งถ้าไม่มีความชำนาญก็จะทำให้ได้แนวรูไม่ตรงกันและไม่สวย
หลังจากทราบข้อดี ข้อเสียของสายอากาศยากิ13อีต้นนี้แล้ว เราก็มาดูโครงสร้างของสายอากาศกันเลยครับดังในรูปด้านล่าง
รูปภาพที่ 1 เป็นโครงสร้างของสายอากาศยากิ13e cb245MHz
รายการอุปกรณ์สำหรับทำสายอากาศยากิ 13 อี cb245 mhz
1.บูมอลูมิเนียมขนาด 1 นิ้วอย่างหนายาว 275 ซม.
2.ท่ออลูมิเนียมขนาด 3/8 นิ้วอย่างหนา จำนวน 2 เส้น (เส้นละ 6 เมตร ) แล้วตัดเป็นท่อนๆ ตามในแบบ
3. สายบาลัน RG11 ยาว 40.4 ซม.
4.ขั้วต่อ SO-239 จำนวน 1 ตัว
5.อลูมิเนียมแบบรัดสายไฟ ยาวประมาณ 50 ซม.
6. อื่น ๆ เช่น น๊อตสำหรับยึดอีลีเมนต์
การสร้างสายอากาศยากิ 13 อี cb245 MHz
1.นำบูมขนาด 1 นิ้วมาทำการเจาะรูขนาด 9.5 mm. ตามรูปด้านล่าง
2. นำท่ออลูมิเนียมขนาด 3/8 นิ้วมาตัดเป็นท่อตามแบบโครงสร้างด้านบน
2.1 Ref ยาว 58.0 ซม. 1 เส้น
2.2 Div ยาว 57.0 ซม. 1 เส้น
2.3 Dir1 ยาว 53.0 ซม. 1 เส้น
2.4 Dir 2 ยาว 52.5 ซม. 1 เส้น
2.5 Dir 3 ยาว 52.0 ซม. 1 เส้น
2.6 Dir 4 ยาว 51.5 ซม. 1 เส้น
2.7 Dir 5 ยาว 51.0 ซม. 1 เส้น
2.8 Dir 6 ยาว 50.5 ซม. 1 เส้น
2.9 Dir 7 ยาว 50.0 ซม. 1 เส้น
2.10 Dir 8 ยาว 49.5 ซม. 1 เส้น
2.11 Dir 9 ยาว 49.0 ซม. 1 เส้น
2.12 Dir 10 ยาว 48.5 ซม. 1 เส้น
2.13 Dir 11 ยาว 48.0 ซม. 1 เส้น
2.14 ชุดแมตช์ ยาว 17 ซม. 2 เส้น
3. นำเอาท่อที่ตัดไว้มาประกอบเข้ากับบูม โดยเรียงขนาดความยาวตามแบบในรูปที่ 1 แล้วทำการยึดน๊อตหรือยิงด้วยลูกรีเวสให้แน่น

4. เมื่อประกอบชุดก้านอีลิเมนต์แล้วก็มาทำชุดแมตช์ ( T-Match ) ตามรูปด้านล่าง


5. นำสายนำสัญญาณ RG11 ยาว 40.5 ซม. มาทำบาลันดังในรูปด้านล่าง


หลังจากทำการประกอบสายอากาศยากิ13 eต้นนี้ก็ทำการทดสอบวัดค่า SWR

จากการทดสอบสายอากาศยากิ 13E cb245 mhz ต้นนี้ หลังจากประกอบและทำการวัดปรับค่า swr ค่อนข้างง่าย โดยการปรับระยะห่างของชุดแมตช์เข้าออกเพื่อให้ได้ค่าใกล้เคียงกับที่เราต้องการมากที่สุด โดยระยะที่ผมทดสอบปรับและได้ค่า swr ที่ 1: 1.2 อยู่ที่ระยะ 17 ซม.
หมายเหตุ
สายอากาศยากิ 13E ต้นนี้ผมได้ทำให้ศูนย์ข่าวเบาะแสจังหวัดสมุทรปราการ ch25 จำนวน 4 แผง ติดตั้งบนเทาวเวอร์สูง 35 เมตร

สายอากาศยากิ13 e cb245mhz จำนวน4แผงรอนำขึ้นติดตั้งบนเทาวเวอร์

ภาพนี้กำลังติดตั้งสายอากาศยากิ 13 e 4 เบย์บนยอดเทาวเวอร์
หากเพื่อนๆ ท่านใดนำไปทดลองทำและได้ผลประการใดเขียนมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะ หากติดขัดหรือไม่เข้าใจตรงไหนสอบถามเข้ามาได้ครับ
E20LFW
21 Aug 2012
www.108ham.com